ตลาดโดยรวม | + 93.1 % |
รถยนต์นั่ง | + 92.4 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | + 141.7 % |
กระบะ 1 ตัน | + 64.1 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | + 261.5 % |
ตลาดโดยรวม | + 9.6 % |
รถยนต์นั่ง | - 5.7 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | + 44.9 % |
กระบะ 1 ตัน | + 6.4 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | + 99.9 % |
จบไตรมาสแรกกันอย่างไม่ค่อยสง่างาม ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2564 หดตัวที่ 2.6 % แต่ก็ยังน้อยกว่าตลาดคาดที่ 3.3 %โดยถูกขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก การส่งออกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภค และภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เข้ามาช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของครัวเรือน เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง โครงการ ม.33 เรารักกัน เป็นต้น แต่กระนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ 1.8 % โดยมองว่าความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนของไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมิน มาดูความเป็นไปของโลก ที่กระแสการลงทุนของโลกหลัง COVID-19 จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนซัพพลายเชนครั้งใหญ่ เนื่องจาก COVID-19 ทำให้บริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ ตระหนักถึงความเปราะบางของซัพพลายเชนโลก ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาที่จุดหนึ่งจุดใดของซัพพลายเชน เช่น เมื่อรัฐบาลจีนประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น ปัญหาจะสามารถลุกลามจนทำให้ต้องยุติการผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชนได้ ลักษณะเดียวกับปรากฏการณ์ขาดแคลนชิพ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่มีหลายผู้ผลิต ต้องประกาศหยุดสายการผลิตอันเนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วน ความท้าทายที่แท้จริงของประเทศไทยจึงอยู่ที่การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติในภาคอุตสาหกรรม ในกระแสทเรนด์โลกหลัง COVID-19 ประเทศไทยควรได้รับอานิงส์จากกระแส DIVERSIFICATION เพราะประเทศไทย คือ หนึ่งในทางเลือกสำหรับการสร้างฐานการผลิตใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงซัพพลายเชนออกจากจีน แต่ข่าวดีจากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 จะเติบโต 6-7 % โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 ได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา การขยายตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขการว่างงานที่ลดลงจนถึงระดับก่อนเกิดการระบาด COVID-19 ยอดค้าปลีกที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน สำหรับประเทศจีน การขยายตัวของ GDP แข็งแกร่งมากในไตรมาส 1/2021 จากการบริโภคในประเทศที่กลับมาฟื้นตัว และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อภาคการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับ ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 55 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงในหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ มูลค่า และปริมาณการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์ และส่วนประกอบ รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติค และเคมีภัณฑ์ ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้สูงสุดในรอบ 28 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลก และการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่รวดเร็วในปลายประเทศ สนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์การใช้น้ำมัน ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1. ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน โดยคาดว่าประเทศไทย ต้องนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาจำนวนทั้งสิ้น 1,865,248 TEUS ให้เพียงพอรองรับการส่งออกที่จะพลิกฟื้นกลับมา และอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง และความแออัดในท่าเรือแหลมฉบัง ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข 2. การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย เนื่องด้วยมีการกลับมาระบาด และการกลายพันธุ์ของไวรัสในประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ อาทิ อินเดีย สหภาพยุโรป ที่ยังมีความรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน 3. สถานการณ์วัตถุดิบขาดแคลน ทั้งสถานการณ์การขาดแคลนชิพ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอีเลคทรอนิคส์ โดยเฉพาะในส่วนชิพควบคุม และประมวลผลชั้นสูง (MICROCONTROLLER) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในชิ้นส่วนอีเลคทรอนิคส์ที่ใช้ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ 4. สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวในกลุ่ม UNSKILLED LABOR จากผลกระทบของ COVID-19 เป็นอุปสรรคต่อการเข้า/ออกของแรงงานต่างด้าว แต่กระนั้น เมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่า สภาพทางอุตสาหกรรมรถยนต์ของเรา ยังอยู่ในระดับที่น่าจะไปไหว ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนเอง ก็จำเป็นต้องปรับตัว ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่เริ่มมุ่งไปทางรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มมากขึ้นในอนาคต