วิถีตลาดรถยนต์
ไปกันใหญ่
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2023/2022
ตลาดโดยรวม -6.1 %
รถยนต์นั่ง -1.4 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +57.2 %
กระบะ 1 ตัน -20.3 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -3.9 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2023/2022
ตลาดโดยรวม -6.1 %
รถยนต์นั่ง +1.6 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +31.2 %
กระบะ 1 ตัน -18.0 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -0.1 %
ก็เหมือนเช่นทุกปีละครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะมีรถยนต์ใหม่ป้ายแดงในช่วงใกล้จะกลางๆ ปีแบบนี้ ช่วงต้นเดือนเมษายน พาครอบครัวเพื่อนสนิทมิตรสหายไปเดินชมรถยนต์ใหม่ จับจองรถยนต์ใหม่กันในงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ หากถูกใจทั้งในด้านของตัวรถ, ราคา และพโรโมชันพิเศษที่ได้รับ ก็ควักกระเป๋าจ่ายเงิน จองนัดวันยื่นเอกสาร เสร็จแล้วก็รอไฟแนนศ์อนุมัติ หลังจากเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว กลางเดือนก็ถึงเวลาออกท่องเที่ยว หรือเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องในวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ เสร็จสรรพก็กลับมาพักผ่อนเตรียมตัวไปทำงานหาเลี้ยงปากท้องกันต่อไป
สำหรับงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ปี 2566 ถือว่าบรรลุเป้าหมายที่ทางผู้จัดงานคาดหวังไว้ในเรื่องของตัวเลขยอดจองรถยนต์ ที่ปีนี้มียอดจองอยู่ที่ 42,885 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 34.5 % รถยนต์ที่ได้รับความสนใจจับจองเป็นเจ้าของมากที่สุด 10 ยี่ห้อ ประกอบด้วย อันดับ 1 TOYOTA (โตโยตา) อันดับ 2 HONDA (ฮอนดา) อันดับ 3 MG (เอมจี) อันดับ 4 SUZUKI (ซูซูกิ) อันดับ 5 GWM (กเรท วอลล์ มอเตอร์) อันดับ 6 ISUZU (อีซูซุ) อันดับ 7 MAZDA (มาซดา) อันดับ 8 NISSAN (นิสสัน) อันดับ 9 BYD (บีวายดี) และอันดับ 10 FORD (ฟอร์ด)
อย่างไรก็ตาม ยอดจองรถยนต์ใหม่จากงานมอเตอร์โชว์ก็ไม่สามารถฉุดตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนเมษายน 2566 ให้ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดือนที่ผ่านๆ มาได้ ยังคงมีตัวเลขที่ติดลบเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2565 ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ยังไม่กระเตื้องขึ้น มาจากหลายสาเหตุ เช่น ความต้องการรถยนต์ใหม่ค่อนข้างจะถึงจุดอิ่มตัว จากการเร่งซื้อเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ความไม่แน่นอนทางด้านของการเมือง และอื่นๆ โดยเดือนเมษายน 2566 มียอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่รวมทั้งสิ้น 59,530 คัน เทียบกับเดือนเมษายนปี 2565 แล้วหดหายไป 3,897 คัน หรือปรับตัวลดลง 6.1 % โดยมีตลาดรถเอสยูวีเพียงตลาดเดียวที่มีตัวเลขยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนเมษายน 2565 สำหรับรถยนต์ที่ได้รับความสนใจจับจองเป็นเจ้าของมากที่สุดในเดือนเมษายน 2566 ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากในเดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย อันดับ 1 TOYOTA มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 19,565 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 แล้วขาดหายไป 2,116 คัน หรือปรับตัวลดลง 9.8 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 32.9 % อันดับ 2 ISUZU 13,336 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 ปรับตัวลดลง 3,259 คัน หรือ 19.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.4 % อันดับ 3 HONDA 6,409 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 แล้วเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 1,302 คัน หรือพิ่มขึ้น 25.5 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10.8 % อันดับ 4 FORD 2,871 คัน เพิ่มขึ้น 335 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 4.8 % และอันดับ 5 MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) 2,858 คัน ลดลง 1,012 คัน หรือลดลง 26.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 4.8 %
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนเมษายน รถยนต์ใหม่ป้ายแดงมีผู้จับจองเป็นเจ้าของไปแล้วรวมทั้งสิ้น 276,603 คัน ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2565 แล้วปรากฏว่า 4 เดือนแรกของปี 2566 มีตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดน้อยลง 18,013 คัน หรือเท่ากับติดลบไป 6.1 % ส่วนรถยนต์ที่มีตัวเลขยอดจำหน่ายสะสมมากที่สุด ไม่แตกต่างไปจากตัวเลขยอดจำหน่ายรายเดือน ประกอบด้วย อันดับ 1 TOYOTA 94,686 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 แล้วปรับตัวลดลง 4,139 คัน หรือเท่ากับ 4.2 % ส่วนแบ่งการตลาดหลังผ่านไป 4 เดือน อยู่ที่ 34.2 % อันดับ 2 ISUZU 60,495 คัน ลดลง 13,520 คัน หรือเท่ากับ 18.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 21.9 % อันดับ 3 HONDA 32,370 คัน เพิ่มขึ้น 1,639 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.7 % อันดับ 4 FORD 13,918 คัน เพิ่มขึ้นถึง 4,020 คัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 40.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % และอันดับ 5 MITSUBISHI 13,820 คัน ลดลง 4,125 คัน หรือลดลง 23.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % เท่ากับ FORD
เมื่อแยกย่อยออกมาเป็นตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประเภทรถพิคอัพ 1 ตัน เดือนเมษายนนี้ยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาดหดหายไปพอสมควรเลยทีเดียว ทั้งตลาดมียอดจำหน่ายรวมกันที่ 26,818 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 ที่จำหน่ายได้ 33,629 คัน แล้วเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่หดหายไปถึง 6,811 คัน หรือหายไป 20.3 % รถพิคอัพที่จำหน่ายได้มากสุด ก็เหมือนเดือนที่ผ่านๆ มา อันดับ 1 ISUZU 11,880 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 ยอดจำหน่ายหดหายไป 3,571 คัน หรือ 23.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 44.3 % อันดับ 2 TOYOTA 10,249 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่ขาดหายไป 2,356 คัน หรือ 18.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.2 % อันดับ 3 FORD 2,869 คัน เพิ่มขึ้น 340 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 10.7 % อันดับ 4 MITSUBISHI 1,342 คัน หายไป 977 คัน หรือติดลบ 42.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % และอันดับ 5 NISSAN 300 คัน ลดลง 175 คัน หรือลดลง 36.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.1 %
ปี 2566 ผ่านไป 4 เดือน ตลาดรถพิคอัพ 1 ตัน มีตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 128,290 คัน เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2565 แล้วเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดน้อยลงไป 28,111 คัน หรือปรับตัวลดลง 18.0 % ISUZU ยังคงยึดหัวหาดนำเป็นอันดับที่ 1 อย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขยอดจำหน่าย 55,402 คัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 แล้วยังไม่ใกล้เคียง ยังขาดหายไปอีก 13,205 คัน หรือขาดหายไป 19.2 % มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 43.2 % ตามด้วย TOYOTA 49,536 คัน ขาดหายไป 13,158 คัน หรือขาดหายไป 21.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.6 % ตามด้วย FORD 13,909 คัน เพิ่มขึ้นถึง 4,030 คัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 40.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 10.8 % ต่อด้วย MITSUBISHI 7,059 คัน หายไป 3,784 คัน หรือ 34.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.5 % และ NISSAN 1,636 คัน หายไป 1,329 คัน หรือ 44.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.3 %
สำหรับรถเอสยูวี เป็นอีกเดือนหนึ่งที่กระแสตอบรับจากผู้ใช้รถยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เดือนเมษายน 2566 ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาดอยู่ที่ 9,175 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ถึง 3,339 คัน หรือเพิ่มขึ้น 57.2 % ตัวเลขยอดจำหน่ายมากสุด ส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นของ HONDA ที่ 2,626 คัน เทียบกับเดือนเมษายน 2565 แล้วเพิ่มขึ้นถึง 1,488 คัน หรือเพิ่มขึ้นมากถึง 130.8 % ส่วนแบ่งการตลาดได้ไป 28.6 % อันดับ 2 เป็นของ BYD ที่จำหน่ายไปได้ 1,743 คัน ถือครองส่วนแบ่งการตลาด 19.0 % อันดับ 3 เป็นของ TOYOTA เดือนนี้ตัวเลขยอดจำหน่ายอยู่ที่ 1,409 คัน ลดน้อยลง 361 คัน หรือลดลง 20.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.4 % อันดับ 4 เป็นของ MAZDA 1,026 คัน ลดลง 4 คัน หรือลดลง 0.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.2 % และอันดับ 5 GWM 814 คัน เพิ่มขึ้น 178 คัน หรือเพิ่มขึ้น 28.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.9 %
จากมกราคมถึงเมษายน ตลาดนี้มีตัวเลขยอดจำหน่ายสะสมรวมกันทั้งสิ้น 36,036 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 แล้วเพิ่มมากขึ้น 8,563 คัน หรือปรับตัวเพิ่มมากขึ้น 31.2 % ตัวเลขยอดจำหน่ายสะสมมากที่สุดเป็นของ HONDA อยู่ที่ 10,801 คัน เพิ่มขึ้น 3,935 คัน หรือเพิ่มขึ้น 57.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 30.0 % TOYOTA ตามมาในอันดับที่ 2 ด้วยยอด 6,921 คัน ลดลง 54 คัน หรือลดลง 0.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.2 % อันดับ 3 BYD 6,245 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 17.3 % อันดับ 4 MAZDA 3,145 คัน ติดลบอยู่ 2,050 คัน หรือติดลบ 39.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.7 % และอันดับ 5 MG 2,721 คันลดลง 982 คัน หรือลดลง 26.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 7.6 %
ทั้งนี้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เดือนเมษายน 2566 ตัวเลขยอดจำหน่ายอยู่ที่ 3,334 คัน ลดลง 136 คัน หรือลดลง 3.9 % ผ่านไป 4 เดือน ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 14,508 คัน ลดลง 16 คัน หรือลดลง 0.1 % เดือนเมษายน 2566 มีการจดทะเบียนรถพิคอัพ 1 ตัน และรถเอสยูวีทั้งสิ้น 39,053 คัน ลดลง 4,937 คัน หรือลดลง 11.2 % เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565
ABOUT THE AUTHOR
ข
ขุนสัญจร
นิตยสาร 417 ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2566
คอลัมน์ Online : วิถีตลาดรถยนต์