วิถีตลาดรถยนต์
รอความหวัง
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2024/2023
ตลาดโดยรวม -26.2 %
รถยนต์นั่ง -20.1 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +13.3 %
กระบะ 1 ตัน -44.0 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -6.8 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2024/2023
ตลาดโดยรวม -21.5 %
รถยนต์นั่ง -9.3 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +22.5 %
กระบะ 1 ตัน -43.8 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -6.4 %
เริ่มฤดูกาลค้าขายปี 2567 มาได้เดือนเดียว ก็ปรับคาดการณ์ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ของปี 2567 ใหม่แล้ว โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขกลมๆ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 730,000 คัน ลดลงจากปี 2566 ประมาณ 7 % ตามดูกันไปยาวๆ ครับว่าจะเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ? ยังเหลือเวลาอีกตั้ง 10 เดือนกว่าจะปิดบัญชี สำหรับตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ก็ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับเดือนที่ผ่านมา นั่นคือ เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง ถึงแม้จะมีมาตรการตรึงราคา ไม่ปรับราคาขึ้น สำหรับรถยนต์รุ่นปรับปรุงใหม่ และการปรับราคาลดลง สำหรับรถยนต์รุ่นที่ทำตลาดมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร บวกด้วยพโรโมชันเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้นบ้างก็ตาม แต่จากการที่สถาบันการเงินพากันเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่อยากแบกรับเรื่องหนี้เสีย และหนี้ครัวเรือนที่ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้การค้าการขายไม่ไหลลื่นเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ยังพอมีความหวังในการที่จะปิดตัวเลขยอดขายไตรมาสแรก และไตรมาส 2 ของปี 2567 ให้สดใสขึ้นมาบ้าง จากการจัดงานมอเตอร์โชว์ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม-7 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้จัดงานมองว่าตัวเลขยอดจองรถรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้น น่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20 % จากปีที่ผ่านมา
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ยังไม่กระเตื้องขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 52,843 คัน ขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2566 ตัวเลขยอดจำหน่ายอยู่ที่ 71,555 คัน ขาดหายไปถึง 18,712 คัน หรือเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดน้อยลงถึง 26.2 % รถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทั้ง 5 ยี่ห้อ 5 บแรนด์ดัง ต่างก็ได้ตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดน้อยลงกว่าที่เคยทำได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งสิ้น เริ่มจากอันดับ 1 TOYOTA (โตโยตา) ตัวเลขยอดจำหน่ายอยู่ที่ 19,702 คัน ลดลง 5,910 คัน หรือ 23.1 % จากที่เคยทำได้ 25,612 คัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ส่วนแบ่งการตลาด 37.3 % อันดับ 2 HONDA (ฮอนดา) ตัวเลขยอดจำหน่าย 8,587 คัน ลดลง 118 คัน หรือ 1.4 % จากเดิม 8,705 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 16.3 % อันดับ 3 ISUZU (อีซูซุ) ตัวเลขยอดจำหน่าย 7,653 คัน ลดลง 7,722 คัน หรือ 50.2 % จากเดิม 15,375 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 14.5 % อันดับ 4 MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) ตัวเลขยอดจำหน่าย 2,655 คัน ลดลง 951 คัน หรือ 26.4 % จากเดิม 3,606 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % และอันดับ 5 FORD (ฟอร์ด) ตัวเลขยอดจำหน่าย 2,206 คัน ลดลง 1,387 คัน หรือ 38.6 % จากเดิม 3,593 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.2 %
2 เดือนแรกของปี 2567 รถใหม่ป้ายแดงถูกถอยออกจากโชว์รูมผู้จำหน่ายรวมทั้งสิ้น 107,657 คัน เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2566 ลดลง 29,487 คัน หรือ 21.5 % หัวแถวรถยอดนิยม ประกอบด้วย TOYOTA จำหน่ายรวม 37,228 คัน น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่ทำได้ 49,408 คัน อยู่ที่ 12,180 คัน หรือจำหน่ายได้น้อยลง 24.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 34.6 % ตามด้วย HONDA จำหน่ายได้รวม 16,885 คัน เพิ่มขึ้น 1,109 คัน จากเดิม 15,776 คัน หรือเพิ่มขึ้น 7.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.7 % ISUZU จำหน่ายได้ 15,583 คัน ลดลง 14,443 คัน หรือ 48.1 % จากเดิม 30,026 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 14.5 % BYD (บีวายดี) จากประเทศจีน จำหน่ายได้รวม 8,915 คัน เพิ่มขึ้น 5,807 คัน เพิ่มขึ้น 186.8 % จากเดิม 3,108 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.3 % และ MITSUBISHI จำหน่ายแล้วรวม 4,575 คัน ลดลง 2,315 คัน หรือ 33.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 4.2 %
สำหรับรถกระบะ 1 ตัน ที่ผ่านมาเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เริ่มปีใหม่ 2567 มีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากการปรับเปลี่ยนมาตรฐานไอเสีย เครื่องยนต์ดีเซลจาก EURO4 เป็น EURO5 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขยอดจำหน่ายรถกลุ่มนี้ ออกอาการทุลักทุเลหนักขึ้นไปอีก !
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีตัวเลขยอดจำหน่ายรวมกัน 18,839 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ถึง 14,796 คัน จากเดิมที่จำหน่ายได้ 33,635 คัน หรือลดลง 44.0 % เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ TOYOTA กลับมาเป็นเบอร์ 1 ของตลาดต่อไป ด้วยตัวเลขยอดจำหน่าย 8,661 คัน แต่เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่น้อยกว่าเดิม ที่เคยทำได้ 13,582 คัน เท่ากับจำหน่ายได้น้อยลง 4,921 คัน หรือ 36.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 46.0 % ตามด้วย ISUZU จำหน่ายได้ 6,690 คัน ลดลง 7,444 คัน จากที่เคยจำหน่ายได้ 14,134 คัน หรือ 52.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 35.5 % FORD จำหน่ายได้ 2,205 คัน ลดลง 1,385 คัน จากที่เคยจำหน่ายได้ 3,590 คัน ลดลง 38.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.7 % MITSUBISHI จำหน่ายได้ 949 คัน ลดลง 780 คัน จากเดิม 1,729 คัน หรือ 45.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % และ NISSAN (นิสสัน) จำหน่ายได้ 271 คัน ลดลง 130 คัน จากเดิมที่จำหน่ายได้ 401 คัน หรือ 32.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.4 %
2 เดือนแรกของปี รถกระบะ 1 ตันจำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 36,777 คัน ลดลงจาก 65,406 คัน ที่จำหน่ายได้ในช่วงเดียวกันของปี 2566 ถึง 28,629 คัน หรือ 43.8 % TOYOTA ครองอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่ายรวม 16,619 คัน ลดลง 9,565 คัน หรือ 36.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2566 ส่วนแบ่งการตลาด 45.2 % อันดับ 2 ISUZU จำหน่ายแล้วรวม 13,616 คัน ลดลงจากเดิม 27,677 คัน ถึง 14,061 คัน หรือ 50.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 37.0 % อันดับ 3 FORD จำหน่ายรวม 4,187 คัน ลดลง 2,779 คัน หรือ 39.9 % จากเดิม 6,966 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 11.4 % อันดับ 4 MITSUBISHI จำหน่ายรวม 1,,652 คัน ลดลง 1,794 คัน หรือ 52.1 % จากเดิม 3,446 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.5 % และอันดับ 5 NISSAN จำหน่ายรวม 547 คัน ลดลง 221 คัน หรือ 28.8 % จากเดิม 768 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 1.5 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเอสยูวี เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ยังคงเป็นความหวังของหมู่บ้านต่อไป เดือนนี้คว้าตัวเลขยอดจำหน่ายรวม 11,148 คัน เพิ่มขึ้น 1,307 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.3 % เมื่อเทียบกับตัวเลขเดิมเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เดือนนี้รถเอสยูวีสายเลือดซามูไรกลับเข้าชาร์ทถึง 4 อันดับ จาก 5 อันดับรถขายดีประจำเดือน มีรถเอสยูวีจากแดนมังกรแทรกเข้ามาได้เพียงหนึ่งเดียว โดยอันดับ 1 เป็นของพี่เบิ้ม TOYOTA จำหน่ายได้ 5,469 คัน เพิ่มขึ้นถึง 3,532 คัน หรือเพิ่มขึ้น 182.3 % จากเดิม 1,937 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 49.1 % อันดับ 2 HONDA จำหน่ายได้ 3,866 คัน เพิ่มขึ้น 821 คัน หรือ 27.0 % จากเดิม 3,045 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 34.7 % อันดับ 3 GWM (กเรท วอลล์ มอเตอร์) 460 คัน ลดลง 191 คัน หรือ 29.3 % จากเดิม 651 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.1 % อันดับ 4 MAZDA (มาซดา) จำหน่ายได้ 327 คัน ลดลง 311 คัน หรือ 48.7 % จากเดิม 638 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 2.9 % และอันดับ 5 NISSAN 321 คัน ลดลง 206 คัน หรือ 39.1 % จากเดิม 527 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 2.9 %
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 รถเอสยูวีจำหน่ายได้รวมกัน 21,775 คัน เพิ่มขึ้นจาก 17,773 คัน ของช่วงเดียวกันปี 2566 ถึง 4,002 คัน หรือเพิ่มขึ้น 22.5 % จำหน่ายมากที่สุดเป็น TOYOTA 9,254 คัน เพิ่มขึ้น 5,595 คัน หรือเพิ่มขึ้น 152.9 % จากเดิม 3,659 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 42.5 % ตามด้วย HONDA 7,556 คัน เพิ่มขึ้น 2,513 คัน หรือเพิ่มขึ้น 49.8 % จากเดิม 5,043 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 34.7 % ส่วนค่าย BYD มีตัวเลข 1,831 คัน ลดลง 1,277 คัน หรือ 41.1 % จากเดิม 3,108 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 31.4 % ค่าย GWM 885 คัน ลดลง 419 คัน หรือ 32.1 % จากเดิม 1,304 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.1 % และ NISSAN 703 คัน ลดลง 634 คัน หรือ 47.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 3.2 %
เดือนกุมภาพันธ์ 2567 รถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ จำหน่ายได้รวม 2,995 คัน ลดลง 217 คัน หรือ 6.8 % เมื่อเทียบกับ 3,212 คัน ของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์จำหน่ายได้รวมกัน 5,832 คัน ลดลง 402 คัน หรือ 6.4 % จากเดิม 6,234 คัน มีการจดทะเบียนรถเอสยูวี และรถกระบะ 1 ตัน รวมทั้งสิ้น 35,840 คัน ลดลง 27,627 คัน หรือ 43.5 % เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566
สรุปว่า ตลาดรถยังคง “รอความหวัง” ต่อไป !