นับแต่เริ่มมีการพัฒนารถไฟฟ้าออกสู่ตลาด ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบทเตอรี พร้อมระบบขับเคลื่อนเพียงเกียร์เดียว หรือไม่มีเกียร์ แต่ขับตรงจากมอเตอร์ไฟฟ้า แต่ก็ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน หรือออกมาโวยวายในเรื่องนี้ ทั้งที่ปัจจุบัน รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งเบนซินและดีเซล ต่างก็ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ธรรมดา 5-6 จังหวะ หรือเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ ขึ้นไปทั้งนั้นนับจากเริ่มติดตั้งเกียร์อัตโนมัติในรถที่ออกจำหน่ายกันเป็นล่ำเป็นสัน เริ่มจากเกียร์ 3 จังหวะ ก็บ่นกันว่ากินน้ำมัน และพัฒนาเทคโนโลยีกันเรื่อยมา จนเดี๋ยวนี้มีถึง 11 จังหวะแล้ว นัยว่าเพื่อความคล่องตัวในการขับขี่ และการประหยัดเชื้อเพลิง แล้วทำไมถึงยอมรับรถไฟฟ้าเกียร์เดียวกันในทันทีทันใด เป็นที่ทราบกันดีว่ามอเตอร์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานจากแบทเตอรี ทำงานด้วยการหมุนส่งถ่ายกำลังงาน เริ่มตั้งแต่จุดหยุดนิ่ง จนถึงกำลังสูงสุด โดยไม่ต้องผ่านเกียร์ใดๆ เลย ซึ่งมีบางคนอาจอยากทราบลงไปในรายละเอียด แต่ก็ไม่มีใครจะมาอธิบายให้ฟังได้ จากวีดีโอของ Engineering Explaines ซึ่งอธิบายการทำงานของเครื่องยนต์อย่างง่ายๆ ทำให้สามารถเข้าใจได้โดยง่าย หรือจะลองอ่านคำอธิบายง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียง 3 อย่าง คือ การหมุนของมอเตอร์ความเร็วสูง ในการทำงานปกติ, ข้อเท็จจริงของความเร็วรอบที่ให้กำลังงานไปสู่การขับเคลื่อน และ แรงบิดที่ได้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า นับแต่เริ่มการทำงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้รถไฟฟ้า สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ ตามความเร็วรอบของมอเตอร์ ขณะที่ยังสามารถขับเคลื่อนได้ตามปกติที่ความเร็วต่ำเช่นกัน ส่วนรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน พร้อมระบบเกียร์ตามปกติ แทบจะไม่สามารถปรับแต่งให้ขับเคลื่อนได้ที่ความเร็วต่ำสุด อีกทั้งการส่งถ่ายแรงบิดจะสามารถส่งถ่ายได้ที่จุดสูงสุด ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. และจะปรับตั้งให้ขับเคลื่อนได้ที่ความเร็วรอบต่ำด้วยความเร็วระดับ 20 กม./ชม. เท่านั้น วิธีทำความเข้าใจเรื่องแรงบิด และความเร็วรอบ ลองใช้รถยนต์เกียร์ธรรมดา อย่างแรก ให้ลองเข้าเกียร์ 1 และทำความเร็วให้ได้ 100 กม./ชม. และอย่างที่สอง ทดลองออกตัวที่เกียร์ 5 เท่านั้นก็จะสามารถเข้าใจเรื่องแรงบิดได้ไม่ยากแล้ว