ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีของแบทเตอรี เพื่อใช้ในรถไฟฟ้า ยังอยู่ในขั้นการพัฒนาจากผู้ผลิตมากหน้าหลายตา แต่ยังไม่มีค่ายไหน ที่จะสามารถผลิตออกมาใช้งานได้จริง ค่าย Siemens ผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านไฟฟ้าจากเยอรมนี ก็พัฒนาการชาร์จไฟฟ้า ให้กับรถหัวลาก เพื่อใช้ในการเดินทางไกลรถหัวลากที่นำมาทำการทดลองครั้งนี้ จะติดตั้งแท่นรับไฟฟ้า ในแบบเดียวกับที่เราเคยเห็นในรถราง ที่เคยวิ่งในบ้านเรา หรือรถราง ในต่างประเทศ ที่ยังใช้งานอยู่ โดยเป็นแท่นสปริงบนหลังคาหัวลาก ดันขึ้นไปสัมผัสกับสายไฟฟ้า ที่ติดตั้งเอาไว้ระดับพอดีกับรถหัวลาก เพื่อรับกระแสไฟฟ้ามาเข้าระบบภายในรถ และช่วยชาร์จแบทเตอรีสำหรับรถไฮบริด นานเท่าที่รถหัวลากนั้น วิ่งไปใต้สายไฟเพื่อการชาร์จ Siemens ติดตั้งถนนสายแรกสำหรับที่ชาร์จไฟฟ้านี้ ในชื่อ eHighway ในสวีเดน เมื่อปี 2559 และปัจจุบัน South Coast Air Quality Management ในแคลิฟอร์เนีย กำลังให้ความสนใจที่จะทำการทดสอบบ้าง Siemens และ SCAQMD จะติดตั้งระบบเป็นระยะทางราว 1.5 กม. ระหว่างลอสแองเจลิส และลองบีช โดยรถหัวลากที่ไม่ได้วิ่งใต้สายไฟสำหรับชาร์จนี้ จะใช้ระบบไฮบริด ร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์ แกสธรรมชาติ โดยเครื่องยนต์จะติดขึ้นอัตโนมัติ ทันทีที่รถหัวลากนั้น พ้นจากสายส่งระบบชาร์จ หรือเปลี่ยนเลนออกไป หรือ ระบบไม่ต้องการให้ชาร์จเพิ่มเติมอีก จากข้อมูลระบุว่า การเพิ่มขึ้นของรถหัวลาก เท่ากับเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะมากขึ้นในปี 2593 ถึง 2 เท่าของปัจจุบัน ระบบชาร์จไฟฟ้าจากด้านบนนี้ จะเป็นประโยชน์ในพื้นที่ที่ขาดแคลนสถานีบริการชาร์จไฟฟ้า ทำให้ท่าเรือลอสแองเจลิส สนใจที่จะทำการค้นคว้าเพื่อการลดค่าไอเสีย ในพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าเรือ และปัจจุบัน ค่าย Toyota กำลังมี Project Portal ซึ่งเป็นรถหัวลากที่ใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ร่วมกับ California Air Resources ทำการทดลองอยู่เช่นกัน ระบบ eHighway ของ Siemens จะช่วยให้ SCAQMD เข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และจะสามารถหาวิธีการลดมลภาวะที่เกิดขึ้นได้ ในอนาคตอันใกล้นี้