บริษัทในประเทศญี่ปุ่น 11 แห่ง รวมทั้ง Toyota, Honda และ Nissan ตกลงร่วมมือกันในการจัดสร้างโครงข่ายสถานีบริการไฮโดรเจน ทั่วเกาะญี่ปุ่นนอกเหนือจากบริษัทรถยนต์ 3 แห่งแล้ว มีบริษัทด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน เข้าร่วมทำความตกลงด้วย คือ JXTG Nippon Oil & Energy, Idemitsu Kosan, Iwatani, Tokyo Gas, Toho Gas และ Air Liquide รวมทั้งไฟแนนศ์อีก 2 แห่ง Toyota Tsusho และธนาคารเพื่อการพัฒนา (The Development Bank of Japan) ความร่วมมือครั้งนี้ จะเริ่มต้นการทำงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 โดยมีแผนงานจะก่อสร้างสถานีบริการไฮโดรเจน 80 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ภายใน 4 ปีแรก โดยจะให้บริการอย่างน้อย 10 ปี โดยบริษัทที่จะก่อตั้งซึ่งยังไม่มีชื่อนี้ จะตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ์และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไปพร้อมกัน เป้าหมายของความร่วมมือนี้ เท่ากับเป็นการเร่งให้เกิดสถานีบริการไฮโดรเจน อันจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการใช้งานรถยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ให้มากขึ้น รัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และสภาไฮโดรเจน และฟิวล์เซลล์ ตั้งเป้าหมายให้เกิดสถานีบริการไฮโดรเจน 160 แห่ง และรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 40,000 คัน ภายในปีงบประมาณ 2563 แม้ว่าทั้งค่าย Toyota รุ่น Mirai และค่าย Honda รุ่น Clarity เจเนอเรชันที่ 2 ระบุว่ารถยนต์ของทั้งคู่ สามารถเดินทางได้มากกว่า 500 กม. และการเติมเชื้อเพลิงก็สามารถกระทำได้รวดเร็วกว่าเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลก็ตาม แต่ยังจำหน่ายได้เป็นจำนวนน้อยมาก นั่นอาจเป็นเพราะว่า ราคารถยนต์ที่ค่อนข้างสูงมาก และสถานีบริการเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้น ยอดขายของรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ในญี่ปุ่น, แคลิฟอร์เนีย และบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง ยังมีจำนวนน้อยมาก