ค่ายรถยนต์เยอรมัน นับว่ายังค่อนข้างล้าหลังในการพัฒนารถไฟฟ้า ตั้งเป้าหมายที่จะก้าวให้ทัน โดยเป็นการปฏิวัติรถไฟฟ้า (Electric Revolution) ตั้งเป้ายอดขายเพิ่มขึ้น 25 % ภายในปี 2573 แต่จากการศึกษาข้อมูลรายละเอียด ประเมินว่า จะมีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้น 75,000 ตำแหน่งจากการศึกษาจาก สหภาพเพื่อการค้า (Commissioned by Trade Unions) และผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ โดย Fraunhofer Institute พบว่า หากมีการเปลี่ยนถ่ายจากยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า จะมีตำแหน่งงานว่างในสายการผลิต ต้องตกงานอย่างน้อย 75,000 ตำแหน่ง และหากเป็นการเปลี่ยนถ่ายอย่างรวดเร็ว ตัวเลขดังกล่าว ก็จะเพิ่มขึ้นตามความเร็วที่ต้องการ แม้ว่าจะมีการแต่งตั้งพนักงานในตำแหน่งใหม่ๆ แต่การศึกษาพบว่า จะไม่สามารถทดแทนกับตำแหน่งงานในสายการผลิตเดิมๆ ได้มากเพียงพอ ด้วยหลักการคิดแบบง่ายๆ เพราะในสายการผลิตต้องการใช้พนักงานน้อยกว่าการผลิตรถยนต์ปกติ ใช้เวลาน้อยกว่าราว 30 % เมื่อเทียบกับการผลิตเครื่องยนต์ทั้งเบนซิน และดีเซล พนักงานในส่วนที่จะกระทบกระเทือนมากที่สุด จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรายเล็ก ผู้ผลิตเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง ที่จะมีพนักงานชำนาญงานในเรื่องชุดแบทเตอรี และพนักงานที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไฟฟ้า เข้ามาแทน โดยประเมินว่า จะต้องแต่งตั้งพนักงานในตำแหน่งงานใหม่ราว 25,000 ตำแหน่ง แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์จะมีการเตรียมการมาตรการรองรับปัญหาเหล่านี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าพนักงานทุกคนจะมีชีวิตรอดจากการปฏิวัติรถยนต์ไฟฟ้า ครั้งนี้ หากไม่มีการปรับตัว Jörg Hofmann หัวหน้าฝ่ายผลิต กล่าวกับผู้สื่อข่าว “จะมีผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตรายเล็ก และขนาดกลาง” ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ จำเป็นต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานของพนักงาน โดยเฉพาะในสายการผลิต รวมทั้งเตรียมแผนงานในการจ่ายเงินทดแทน หากพนักงานต้องการลาออก เพื่อให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปด้วยดี ค่าย Volkswagen ได้เริ่มเตรียมการแล้ว โดย Bernd Osterloh โฆษกของบริษัทฯ กล่าวว่า “เราจะใช้โอกาสนี้ ในการปรับเปลี่ยนการจ้างงานพนักงานในสายการผลิต”