รายงานข่าวจากเกาหลีใต้ ระบุว่า Byung Tae Yea ซีอีโอ Ssangyong คนปัจจุบัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยระบุว่า เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ที่ไม่สามารถเสาะหานายทุน เข้ามากอบกู้สถานการณ์ของบริษัท ที่อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องขอล้มละลายจากศาลได้เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ค่าย Ssangyong ยื่นคำร้องต่อศาล ขอเป็นผู้ล้มละลาย เนื่องจากถึงกำหนดชำระเงินกู้ มูลค่าราว 301 พันล้านวอน หรือประมาณ 8,428 พันล้านบาท และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ค่าย Mahindra & Mahindra ของประเทศอินเดีย ต้องการถอนตัวออกจากการสนับสนุน และต้องการเงินลงทุนกลับคืน ซีอีโอ ระบุว่า “การค้นหาเงินทุนเพื่อมากอบกู้สถานการณ์ของ Ssangyong เป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่คาดหมาย ทำให้การดำเนินงานในอนาคต จะยากมากยิ่งขึ้น และยังไม่ทราบว่าในอนาคตจะยุ่งยากมากสักเพียงไหน” และ “ผมเชื่อว่านี่จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบ และยอมรับผลที่ตามมา” เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ค่าย Ssangyong คาดว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจาก HAAH Automotive Holding สหรัฐอเมริกา ที่เตรียมจะสนับสนุนเงิน 300 พันล้านวอน โดยธนาคารพัฒนาเกาหลีใต้ (Korean Development Bank หรือ KDB) เพียงแต่ธนาคารต้องการแผนงานดำเนินการในอนาคต ก่อนที่จะจัดหาเงินสนับสนุนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม HAAH Automotive Holding ไม่ตอบรับการจัดทำแผนงานดังกล่าว และตัดสินใจที่จะไม่ให้การสนับสนุนอีกต่อไป แต่ศูนย์ให้บริการทางการเงินของเกาหลี (Korean Financial Supervisory Service) ประกาศว่าจะช่วยเหลือ โดยตีราคาทรัพย์สินทั้งหมดของ Ssangyong จากเดิม 402.6 พันล้านวอน เพิ่มเป็น 681.4 พันล้านวอน ซึ่งส่งผลให้ Ssangyong สามารถผ่อนชำระเงินกู้ เพื่อไปชำระหนี้สินดังกล่าวได้ แต่ปัญหา คือ ผู้ตรวจสอบบัญชีปฏิเสธการตีราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น พร้อมระบุว่า “ปัญหาจะตามมา Ssangyong สามารถชำระหนี้สิน และดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างไร” ข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ ระบุว่า หากผู้ตรวจสอบบัญชี มีความเห็นที่ไม่ตรงกับฝ่ายบริหาร ในการทำธุรกิจในปีที่ผ่านมา ว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ยอมรับ ตลาดหลักทรัพย์ จะถอดบริษัทนั้นออกจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จนกว่าจะมีการแก้ไขรายงานผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีสามารถรับรองรายงานผลประกอบการนั้นได้