Great Wall Motor ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็น “Nida Pole” หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำรวจความคิดเห็น และพฤติกรรมคนไทยที่มีต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 1,000 คนทั่วประเทศในเดือนธันวาคม 2566 พบว่าคนไทยให้ความสนใจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบทเตอรี (Battery Electric Vehicle: BEV) มากที่สุดถึง 64.8 % ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญถึง 37.5 % ตามด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) ที่ 22.2 % และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบพลัก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hy brid Electric Vehicle: PHEV) ที่ 13.0 % โดยผลสำรวจระบุว่า คนไทยพิจารณาราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน (34.1 %) และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (18.9 %) เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟ ฟ้า สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในรถยนต์พลังงานใหม่ของผู้บริโภคชาวไทยที่ให้ความสำคัญกับการขับขี่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และความคุ้มค่าในด้านค่าใช้จ่ายของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
ผลสำรวจความเห็น และพฤติกรรมคนไทยเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าปี 2566 ที่ผ่านมานี้ ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป 800 คน ในช่วงอายุระหว่าง 30-60 ปี สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ ราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน ตามมาด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบที่สวยงาม และทันสมัย และความปลอดภัยที่สูงกว่า ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป ปัจจัยในด้านของราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังคงเป็น 2 ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเปลี่ยนมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ตามด้วยความปลอดภัยที่สูงกว่า และความสามารถในการขับที่ได้ระยะทางที่ไกลกว่า
สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาปนั้น สัดส่วนมากถึง 81.3 % สนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต เนื่องจากประหยัดพลังงาน (89.4 %) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (72.3 %) และมองว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (49.9 %) โดยรูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าที่ผู้ใช้รถยนต์สันดาปอยากเป็นเจ้าของมากที่สุด คือ รถยนต์แบบซีดานสูงสุดที่ 63.6 % ตามด้วยรถยนต์อเนกประสงค์ SUV 27.8 % รถกระบะ 5.1 % และรถยนต์อเนกประสงค์ PPV 3.5 % โดยส่วนใหญ่มีแผนที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในอีก 3-4 ปี และคาดหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะซื้อนั้นจะมีระยะทางการขับขี่/1 การชาร์จในช่วงระหว่าง 501-600 กม. ในราคาประมาณ 700,001-900,000 บาท โดยส่วนใหญ่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จากประเทศจีนสูงถึง 83.1 % เนื่องจากเชื่อมั่นในแบรนด์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม เหตุผลหลักที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาปยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในขณะนี้ มาจากความไม่มั่นใจในเรื่องระบบความปลอดภัยเป็นหลัก (66.0 %) ตามด้วยจำนวนสถานีชาร์จที่มีจำ กัด (50.7 %) และความกังวลเกี่ยวกับเวลาในการชาร์จที่ยาวนาน (40.0 %)
ด้านกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถคันหลักในการเดินทาง (91.5 %) และมีความพึงพอใจกับการใช้รถเนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่าย (ราคาค่าชาร์จไฟที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน) มากถึง 49.2 % ตามด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และการออกแบบที่สวยงาม (16.6 %) และการขับขี่คล่องตัว อัตราเร่งดี (14.5 %) ขณะที่จำนวนสถานีชาร์จที่น้อย (57.1 %) และระยะเวลาในการชาร์จที่นานเกินไป (42.9 %) เป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไม่พึงพอใจที่สุด นอกจากนี้ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มองว่า การลดอัตราค่าชาร์จไฟตามสถานีชาร์จต่างๆ การลดค่าจดทะเบียนรายปีรวมถึงค่าเบี้ยประกันภัยให้น้อยกว่ารถ ยนต์แบบสันดาป และที่จอดรถเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ต่างๆ เป็นสิทธิพิเศษที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องการมากที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการใช้รถคือ อายุของแบทเตอรี สถานีชาร์จไฟ รวมถึงอะไหล่ และค่าดูแลรักษาต่างๆ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนมากยังได้ให้เหตุผลว่า จำนวนสถานีชาร์จไฟที่น้อย และไม่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ และราคาแบทเตอรีที่สูง จะเป็นสองปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเลิกใช้รถยนต์ไฟฟ้า นอกเหนือจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ต่ำลงกว่าในปัจจุบันจะกระตุ้นให้คนไทยเปลี่ยนใจหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด ตามด้วยการมีสถานีชาร์จไฟที่เพียงพอ รวมทั้งสมรรถนะ และเทคโนโลยีในการขับรถที่ดีกว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนจากรัฐบาลนอกจากมาตรการส่วนลดทางภาษี และเงินอุดหนุนว่า การสนับสนุนจากรัฐบาลในการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จเป็นสิ่งที่ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่ สุด (34.0 %) ตามด้วยการสนับสนุนค่าไฟฟ้า (28.0 %) และการสนับสนุนค่าบำรุงรักษารถยนต์ (18.0 %)
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มองว่า รถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จีนนั้นมีการออกแบบดีไซจ์นที่สวย งาม และทันสมัย ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาปมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จีนมีราคาที่จับต้องได้ และมีความคุ้มค่ากว่ารถยนต์จากประเทศอื่น ตามด้วยการออกแบบดีไซจ์นที่สวยงาม และมีระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย โดยผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า และผู้ใช้รถยนต์สันดาป เชื่อว่าการเข้ามาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก่อให้เกิดโอกาส หรือการพัฒนาในระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) ในทุกภาคส่วน โดยทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ อาทิ การติดตั้งแท่นชาร์จ (Wall Charge), แผงโซลาร์เซลล์, สถานีชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว (DC Fast Charge), และการให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ Great Wall Motor ในการส่งเสริมการลงทุน การจ้างงาน และพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานไทย เพื่อพัฒนา และยกระดับระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า
ณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ Great Wall Motor (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เราได้ร่วมมือกับ Nida Pole ในครั้งนี้เป็นปีที่ 3 ของการสำรวจ จากผลการสำ รวจ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงแนวโน้มการเปิดรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นจากการเติบโตของยอดขาย และยอดจดทะเบียนของรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 700 % จากปี 2565 ที่ผ่านมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ การเข้ามาของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างต้องร่วมมือกันในการผลักดันการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องผ่านนโยบาย และสิทธิพิเศษต่างๆ การขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน การทำงานร่วมกันเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สามารถวิ่งได้ระยะทางมากขึ้น/การชาร์จ 1 ครั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่ รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรถ ยนต์ไฟฟ้า และส่วนประกอบสำคัญอย่างเช่น แบทเตอรี ให้มากยิ่งขึ้น ในปี 2567 นี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะขยายตัว และเติบโตอย่างเห็นได้ชัด จากการที่แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะแบรนด์รถยนต์จากประเทศจีนที่เล็งเห็นโอกาสในตลาดยานยนต์ไทย และเข้ามาลงทุนก่อตั้งโรงงานเพื่อเพิ่มสายการผลิตในประเทศไทย รวมถึงยกให้ประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับภูมิภาค เช่นเดียวกันกับ Great Wall Motor ที่ได้เปิดตัว New GWM ORA Good Cat จากสายการผลิตภายในประเทศที่โรงงาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ที่จังหวัดระยอง เพื่อส่งมอบสู่ชาวไทยภายในเดือนมกราคม 2567 ภายใต้นโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรการ ZEV 3.0 ของรัฐบาล Great Wall Motor ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านรถยนต์พลังงานไฟ ฟ้าในประเทศไทย จะยังคงเดินหน้าพัฒนา และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมตัวเลือกหลากหลาย พร้อมตอบโจทย์ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าทั้งรถยนต์แบบแบทเตอรี ไฮบริด และพลัก-อิน ไฮบริด รวมถึงยกระดับการบริการต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้รับประสบการณ์ของการเป็นเจ้าของยานยนต์คุณภาพที่เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ปลอดภัย และไร้กังวล ควบคู่ไปกับการเดินหน้าเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าให้เติบโต และพัฒนาขึ้นสู่ระดับสากล