ข่าวจากประเทศอังกฤษ ระบุว่า การรณรงค์ “ดื่มไม่ขับ” ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในประเทศอังกฤษ (กันยายน-พฤศจิกายน) แทนการรณรงค์แค่ช่วงคริสต์มาสหรือไม่
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานกฎหมายในอังกฤษ พบว่าในปี 2564-2565 มีการเกิดอุบัติเหตุรถชนจนเสียชีวิต โดยมีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งพบว่าระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน มีจำนวนอุบัติเหตุสูงกว่าช่วงเทศกาลคริสต์มาส จึงเห็นควรให้มีการรณรงค์ “ดื่มไม่ขับ” ในช่วงเวลาอื่นด้วย
จากการวิเคราะห์พบว่า เดือนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ช่วงกันยายน และพฤศจิกายน โดยในปี 2566 ช่วงเดือนกันยายน เกิดอุบัติเหตุรถชน 390 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 600 ราย ซึ่งสูงกว่าเดือนธันวาคม ที่มีอุบัติเหตุรถชน 380 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิต 550 ราย หากเทียบตัวเลขสะสมใน 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าเฉพาะเดือนพฤศจิกายนมีการชน 9,970 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6,650 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตสะสมของเดือนธันวาคมด้วย
เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขช่วงเวลา พบว่า การเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากแอลกอฮอล มีมากระหว่างเวลา 22.00-24.00 น. โดยช่วงเวลา 23.00 น. เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ซึ่งเป็นเวลาที่นักขับประเภท “ดื่มแล้วขับ” ออกมาใช้ถนนร่วมกัน
หากแยกตามความแตกต่างของพื้นที่ในอังกฤษ พบว่าในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ มีการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มสูงสุด และมากกว่าตะวันออกของอังกฤษ โดย 12 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองภูมิภาคมีบันทึกการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มถึง 13,000 และ 8,000 ครั้งตามลำดับ
ภาครัฐฯ เน้นการรณรงค์ “การไม่ดื่มแล้วขับ” ในช่วงคริสต์มาสอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยตำรวจจะเรียกให้จอดรถข้างทางเพื่อตรวจระดับแอลกอฮอล และพบว่ามีการเรียกตรวจวัดระดับแอลกอฮอลในช่วงเทศกาลคริสต์มาส มีจำนวนมากกว่าช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึง 3 เท่า ทั้งที่การเกิดอุบัติเหตุจากการ “ดื่มแล้วขับ” ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงมีจำนวนมาก จึงเห็นว่าควรเรียกตรวจวัดระดับแอลกอฮอลด้วยเช่นกัน