ข่าวจากประเทศอังกฤษ ระบุว่า การพัฒนามอเตอร์แนวคิดใหม่กำลังคืบหน้า โดยสามารถเพิ่มระยะเดินทางของรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยไม่ต้องใช้แบทเตอรีขนาดใหญ่
เมื่อปลายปี 2566 Deepdrive บริษัทสตาร์ทอัพในเยอรมนีได้ร่วมมือกับ Continental ผู้ผลิตยางรถยนต์ และซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ในการสร้างผลงานใหม่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการรถยนต์ ด้วยมอเตอร์ในล้อแบบโรเตอร์คู่ และระบบเบรคไฟฟ้าแบบดุม
ก่อนหน้านั้นในปี 2564 บริษัท BMW แถลงข่าวความร่วมมือกับ Deepdrive ภายใต้พโรแกรม BMW Startup Garage โดยเป็นการร่วมทุนกับลูกค้า ในการทดสอบเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นใหม่
Deepdrive พัฒนามอเตอร์แบบ Radial Flux ซึ่งมีโรเตอร์หมุนภายใน (ภายนอก Stator) แต่มอเตอร์แบบโรเตอร์คู่ของ Deepdrive มีโรเตอร์สองชุด โดยโรเตอร์ชุดแรกหมุนอยู่ภายใน Stator และโรเตอร์อีกชุดหมุนภายนอก Stator เทคโนโลยีมอเตอร์แบบโรเตอร์คู่ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่ แต่ Deepdrive เป็นบริษัทแรกที่สามารถเอาชนะความยากลำบากในการผลิตระดับโรงงานอุตสาหกรรมได้
มอเตอร์ของ Deepdrive มีสองโรเตอร์ในมอเตอร์หนี่งชุด จึงสร้างแรงบิดได้สูงมาก, มีความหนาแน่นแรงบิดมากขึ้น (อัตราส่วนของแรงบิดต่อน้ำหนัก และขนาดของมอเตอร์ ซึ่งมีอัตราส่วนแรงบิดสูงกว่ามอเตอร์โรเตอร์เดี่ยวแบบดั่งเดิม) เทคโนโลยีมอเตอร์คู่ของ Deepdrive จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า, มีความหนาแน่นแรงบิดสูงกว่า และสูญแรงในระบบน้อยกว่า จึงมีทั้งแบบมอเตอร์หลักสำหรับรถไฟฟ้าทั่วไป และแบบมอเตอร์ในล้อ
ข้อได้เปรียบของการใช้มอเตอร์ในล้อ เป็นการเพิ่มน้ำหนักซึ่งไม่ผ่านระบบรองรับ ประกอบกับมอเตอร์แบบโรเตอร์คู่มีน้ำหนักน้อยกว่า จึงทำให้มีข้อได้เปรียบมากกว่ามอเตอร์แบบเดิม ทั้งความหนาแน่นพลังงานสูง จนสามารถลดขนาดของระบบเบรคหลังให้เล็กลง หรือไม่ต้องมีเลย คาดว่าระบบเบรคในล้ออาจทำให้รถไฟฟ้ามีน้ำหนักน้อยลง จนใกล้เคียงกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าทั่วไปได้