วิถีตลาดรถยนต์
ไตรมาสแรก ยักษ์ใหญ่มีเป๋
[table]
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2017/2016
ตลาดโดยรวม,+16.7 % รถยนต์นั่ง,+38.7 % รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV),-15.6 % รถอเนกประสงค์ (MPV),-16.8 % กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ,+15.9 % กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ,+21.6 % อื่นๆ,+7.3 %เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2017/2016
ตลาดโดยรวม,+15.9 % รถยนต์นั่ง,+35.9 % รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV),-12.3 % รถอเนกประสงค์ (MPV),+2.7 % กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ,+12.1 % กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ,+26.7 % อื่นๆ,+7.9 % [/table] เป็นประจำทุกปีที่งานมอเตอร์โชว์งานแรกของปี จะเปิดประตูสถานที่จัดงานให้มวลมหาชนได้เข้าชมงานกันในช่วงปลายเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งในงานมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น ขณะที่รถยนต์ที่มีจำหน่ายอยู่เดิมบางรุ่นบางโมเดลก็ได้รับการเขียนคิ้วทาปากใหม่เป็นรุ่นพิเศษ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้เข้าชมงาน และผู้มุ่งมั่นจะมาซื้อรถใหม่ สำหรับในส่วนของพโรโมชันพิเศษ บางค่ายเปิดหน้าใช้พโรโมชันพิเศษงานมอเตอร์โชว์ เรียกแขกเข้าโชว์รูมมาก่อนหน้างานจะเริ่มเสียด้วยซ้ำ ส่วนบางค่ายขยายเวลาพโรโมชันพิเศษออกไปหลังจากจบงานแล้วอีกระยะหนึ่ง เพื่อลูกค้าที่พลาดโอกาสไม่ได้ไปชมงาน หรือใช้เวลาตัดสินใจนานไปหน่อย ซึ่งความสำเร็จของงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 38 จะฉุดให้ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่พุ่งกระฉูดมากขึ้นสักเท่าไร ต้องดูกันที่ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี แต่ถึงแม้ว่างานมอเตอร์โชว์ ปี 2560 จะยังไม่เริ่มต้นขึ้นการค้าการขายรถยนต์ใหม่ในปี 2560 นี้ก็ดูเหมือนจะสดใสซาบซ่ากว่าในปี 2559 ที่ผ่านมา เพียงไตรมาสแรก มกราคมถึงมีนาคม 2560 ผ่านพ้นไป ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ที่เกิดขึ้นก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาแล้ว และยังเหลือเวลาให้บรรดารถยนต์ได้ปลดปล่อยรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกมาทำตลาดกอบโกยยอดจำหน่ายกันอีกถึง 3 ไตรมาส ดูแล้วหากไม่มีปัจจัยลบที่ใหญ่โตหนักหนาสาหัสจริงๆ เป้าหมายที่ว่ากันว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ปี 2560 จะอยู่ที่ประมาณ 800,000 คัน หรือมากกว่านั้นนิดหน่อยคงไม่พลาดอย่างแน่นอน สำหรับไตรมาสแรกของปี 2560 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศ รวมทุกประเภททุกยี่ห้อ วิ่งมาหยุดอยู่ที่ 210,490 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปี 2559 ถึง 15.9 % เฉพาะเดือนมีนาคมเดือนเดียว รถยนต์ใหม่จำหน่ายออกไปได้มากถึง 84,801 คัน ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่สูงกว่าเดือนมีนาคมปี 2559 ถึง 16.7 % โดยรถยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็น โตโยตา ไตรมาสแรกมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.9 % จำหน่ายได้ทั้งสิ้น 58,629 คัน อันดับ 2 อีซูซุ จำหน่ายได้ 41,707 คัน ส่วนแบ่งตลาด 19.8 % อันดับ 3 ฮอนดา จำหน่ายแล้ว 30,191 คัน ส่วนแบ่งตลาด 14.3 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ จำหน่ายไปแล้ว 16,956 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 8.1 % และอันดับ 5 นิสสัน ส่วนแบ่งตลาด 6.8 % ขณะที่เดือนมีนาคม 2560 โตโยตา จำหน่ายได้มากที่สุด 22,022 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 26.0 % ตามด้วย อีซูซุ 16,184 คัน ส่วนแบ่งตลาด 19.1 % ฮอนดา 12,618 คัน ส่วนแบ่งตลาด 14.9 % มิตซูบิชิ 6,913 คัน ส่วนแบ่งตลาด 8.2 % และนิสสัน 6,465 คัน ส่วนแบ่งตลาด 7.6 % ถึงแม้ โตโยตา จะยังคงได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่เหมือนเดิม แต่เมื่อดูลึกลงไปในแต่ละตลาด จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของเส้นทางสู่การเป็นแชมพ์รถยนต์ยอดนิยมในแต่ละตลาด ดูจะไม่ราบรื่นสะดวกสบายดุจปูด้วยกลีบกุหลาบสักเท่าไร แต่จะเป็นงานที่หนักหนาอย่างยิ่งสำหรับงานด้านการตลาดและการขาย เพราะจากตัวเลขที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า โตโยตา ไม่ได้เป็นเบอร์ 1 ของตลาดแล้วในตลาดใหญ่ 2 ตลาด นั่นคือ ตลาดรถยนต์นั่ง และตลาดรถพิคอัพ 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 ล้อ ซึ่ง 2 ตลาดนี้เป็นตลาดสำคัญที่สุด มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในบรรดาตลาดรถยนต์ประเภทต่างๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน โดยอันดับ 1 รถยนต์นั่งที่ขายได้มากที่สุดในไตรมาสแรกเป็น ฮอนดา ส่วนอันดับ 1 ยอดจำหน่ายสูงสุดของพิคอัพ 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 ล้อ เป็น อีซูซุ ดังนั้นในอีก 3 ไตรมาสที่เหลือ คงได้เห็นการทำตลาดอย่างเข้มข้นมากขึ้นของทาง โตโยตา เพื่อชิงความเป็นเบอร์ 1 ของทั้ง 2 ตลาดกลับคืนมานั่นเอง สำหรับตลาดรถพิคอัพ 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 ล้อ ไตรมาสแรกของปี 2560 ยอดจำหน่ายทั้งหมดอยู่ที่ 84,728 คัน ซึ่งเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.1 % อันดับ 1 เป็นพิคอัพสายพันธุ์ ดี-แมกซ์ ของ อีซูซุ โดย 3 เดือนแรกมียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 33,609 คัน คิดเป็น 39.7 % ของยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาด อันดับ 2 เป็นพิคอัพในตระกูล รีโว ของ โตโยตา มียอดจำหน่ายรวม 22,956 คัน ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 27.1 % เหนื่อยหน่อยสำหรับการทวงตำแหน่งแชมพ์ เพราะตัวเลขตามหลัง อีซูซุ อยู่หมื่นกว่าคันทีเดียว อันดับ 3 ฟอร์ด 9,333 คัน ส่วนแบ่งตลาด 11.0 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ ได้ไปครองเหมือนเคย มียอดจำหน่ายอยู่ที่ 7,082 คัน ส่วนแบ่งตลาด 8.4 % และอันดับ 5 นิสสัน 4,661 คัน ส่วนแบ่งตลาด 5.5 % เฉพาะเดือนมีนาคม ยอดจำหน่ายรถยนต์ประเภทนี้อยู่ที่ 32,694 คัน เพิ่มขึ้น 15.9 % เมื่อเทียบกับมีนาคมปี 2559 จำหน่ายมากที่สุด อีซูซุ 12,773 คัน เท่ากับ 39.1 % ของยอดจำหน่ายทั้งหมด โตโยตา 7,981 คัน ส่วนแบ่งตลาด 24.4 % ฟอร์ด 4,052 คัน ส่วนแบ่งตลาด 12.4 % มิตซูบิชิ 2,824 คัน ส่วนแบ่งตลาด 8.6% และนิสสัน 1,844 คัน ส่วนแบ่งตลาด 5.6 % พิคอัพ 1 ตัน ขับเคลื่อน 4 ล้อ เป็นตลาดของ โตโยตา ไตรมาสแรกยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาด 8,964 คัน เพิ่มขึ้น 26.7 % โตโยตา ขายได้ 4,993 คัน เท่ากับ 55.7 % ของยอดจำหน่ายทั้งหมด ตามมาอย่างห่างๆ ด้วย อีซูซุ 1,766 คัน ส่วนแบ่งตลาด 19.7 % ฟอร์ด 1,182 คัน ส่วนแบ่งตลาด 13.2 % มิตซูบิชิ 667 คัน ส่วนแบ่งตลาด 7.4 % นิสสัน 245 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2.7 % สำหรับเดือนมีนาคม ปิดท้ายไตรมาสแรก ตลาดนี้มียอดจำหน่ายรวม 3,747 คัน เพิ่มขึ้นจากมีนาคมปีที่ผ่านมา 21.6 % 5 อันดับแรก โตโยตา 2,240 คัน ส่วนแบ่งตลาด 59.8 % อีซูซุ 632 คัน ส่วนแบ่งตลาด 16.9 % ฟอร์ด 476 คัน ส่วนแบ่งตลาด 12.7 % มิตซูบิชิ 245 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6.5 % และนิสสัน 108 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2.9 % รถเอสยูวี เป็นตลาดเดียวที่ตัวเลขยอดจำหน่ายถอยหลังเข้าคลอง ทั้งยอดจำหน่ายรายเดือนและยอดจำหน่ายรวมในไตรมาสแรก โดยไตรมาสแรกจบด้วยตัวเลข 24,145 คัน ลดลง 12.3 % ส่วนเดือนมีนาคมจำหน่ายได้รวม 9,979 คัน ลดลง 15.6 % แชมพ์ยอดจำหน่ายสูงสุดไตรมาสแรก และในเดือนมีนาคมเป็น โตโยตา โดยไตรมาสแรกจำหน่ายได้รวม 5,678 คัน ส่วนแบ่งตลาด 23.5 % เดือนมีนาคม 2,236 คัน ส่วนแบ่งตลาด 22.4 % อันดับรองลงไปเป็น ฮอนดา 4,836 คัน ส่วนแบ่งตลาด 20.0 % เดือนเดียว 1,859 คัน ส่วนแบ่งตลาด 18.6 % มิตซูบิชิ 4,061 คัน ส่วนแบ่งตลาด 16.8 % เดือนเดียว 1,758 คันส่วนแบ่งตลาด 17.6 % อีซูซุ 2,875 คัน ส่วนแบ่งตลาด 11.9 % เดือนมีนาคม 1,405 คัน ส่วนแบ่งตลาด 14.1 % ฟอร์ด 2,196 คัน ส่วนแบ่งตลาด 9.1 % เดือนเดียว 819 คัน ส่วนแบ่งตลาด 8.2 % ตามลำดับ รถเอมพีวี ปิดไตรมาสแรกด้วยตัวเลขยอดจำหน่ายรวม 5,139 คัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.7 % ขณะที่ยอดจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ 2,060 คัน ลดลง 16.8 % ยอดจำหน่ายสูงสุดทั้งเดือนมีนาคม และรวมไตรมาสแรก 5 อันดับแรกเหมือนกันโดย โตโยตา เดือนมีนาคมจำหน่ายได้ 990 คัน ส่วนแบ่งตลาด 48.1 % รวม 3 เดือน 2,587 คัน ส่วนแบ่งตลาด 50.3 % อันดับ 2 ฮอนดา เดือนมีนาคม 872 คัน ส่วนแบ่งตลาด 42.3 % ไตรมาสแรก 2,079 คัน ส่วนแบ่งตลาด 40.5 % อันดับ 3 ซูซูกิ เดือนมีนาคม 90 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.4 % ไตรมาสแรก 232 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.5 % อันดับ 4 เกีย มีนาคม 72 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3.5 % ไตรมาสแรก 133 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2.6 % และอันดับ 5 ฮันเด เดือนมีนาคม 23 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1.1 % รวม 3 เดือน 67 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1.3 % รถยนต์ประเภทอื่นๆ (ยกเว้นรถยนต์นั่ง) เดือนมีนาคม 4,126 คัน เพิ่มขึ้น 7.3 % รวมมกราคมถึงมีนาคม 10,387 คัน เพิ่มขึ้น 7.9 %ABOUT THE AUTHOR
ขุนสัญจร
นิตยสาร 417 ฉบับเดือน กรกฏาคม ปี 2560
คอลัมน์ Online : วิถีตลาดรถยนต์