ตลาดโดยรวม | -23.0 % |
รถยนต์นั่ง | -46.9 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +25.7 % |
กระบะ 1 ตัน | -9.6 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | -9.4 % |
ไม่ได้บอกว่าจะมีขายเร็วๆ นี้หรอกครับ แต่เอาเป็นว่า ปลายปีนี้ ประเทศไทยจะได้มีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกหลายยี่ห้อ เอาแค่ยี่ห้อที่ท่านนายกฯ ออกปากมานั่นก็ยี่ห้อหนึ่ง แต่บรรดาผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน น่าจะเริ่มมีรถต้นแบบออกมาให้เห็นกันในปลายปีนี้แน่นอนสถาบันยานยนต์ เล็งว่าปี 2564 นี้ ประมาณการยอดผลิตรถยนต์ 1.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 6 % แบ่งเป็นส่งออก 7.5 แสนคัน เพิ่มขึ้น 2 % ขายในประเทศ 7.5 แสนคัน ลดลง 3 % แต่บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ เชื่อมั่นว่าจะกลับมาเกิน 8 แสนคัน โดยพี่ใหญ่ฟันธงว่า ยอดขายรวมทุกยี่ห้อ มีโอกาสถึง 8.5-9 แสนคัน ดูได้จากเดือนมกราคม ขายลดลง 21.3 % ได้เพียง 55,208 คัน โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 44.2 % และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลง 5.4 % สืบเนื่องจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง และรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การดำเนินธุรกิจและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การบริการต่างๆ ที่ยังคงชะลอตัว ตลอดจนอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แต่เมื่อเริ่มมีการฉีดวัคซีนกันไปแล้ว สภาวะเศรษฐกิจก็น่าจะเริ่มกลับคืนมาอย่างช้าๆ และช้ามาก เพราะทุกประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบ แต่บรรดามาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ก็ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน และยังเป็นการสร้างกระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทางด้านของตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างพยายามกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถของผู้บริโภคตั้งแต่ต้นปี ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ รวมทั้งข้อเสนอพิเศษต่างๆ ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์น่าจับตามองว่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีเพียงไร มาดูว่า รายงานการจดทะเบียนรถใหม่ป้ายแดงทั่วประเทศ ปี 2563 จากกรมการขนส่งทางบก รวม 2,638,466 คัน ลดลงเฉลี่ย 14 % เมื่อเทียบกับสถิติรถจดทะเบียนใหม่ย้อนหลัง 3 ปี ขณะที่สถิติรถจดทะเบียนสะสมปัจจุบันรวมแล้วกว่า 41 ล้านคัน รถจักรยานยนต์ครองสถิติสูงสุดกว่า 21 ล้านคัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนกว่า 10 ล้านคัน โดยกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงสถิติรถจดทะเบียนใหม่ทั่วประเทศภาพรวมปี 2563 ว่ามีผู้นำรถใหม่ป้ายแดงมาจดทะเบียน รวม 2,638,466 คัน ลดลงเฉลี่ย 14 % เมื่อเทียบกับสถิติรถจดทะเบียนใหม่ย้อนหลัง 3 ปี ลดลง 13.17 % เมื่อเทียบกับปี 2562 (จำนวน 3,038,943 คัน) ลดลง 14.71 % เมื่อเทียบกับปี 2561 (จำนวน 3,093,791 คัน) และลดลง 13.98 % เมื่อเทียบกับปี 2560 (จำนวน 3,067,278 คัน) จำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 41,471,345 คัน โดยรถจักรยานยนต์สูงสุด จำนวน 21,396,980 คัน รองลงมา คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 10,446,505 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน 6,878,050 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน จำนวน 434,254 คัน รถจักยานยนต์สาธารณะ 170,506 คัน รถแทกซี จำนวน 80,172 คัน ส่วนรถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 151,547 คัน และรถบรรทุก จำนวน 1,173,801 คัน หันไปทางความเชื่อมั่นของนักลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนระบุ ปี 2563 ตัวเลขขอรับการส่งเสริมรวม จำนวน 1,717 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 481,150 ล้านบาท กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์น่าจับตา มีมูลค่าลงทุนสูงกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 165 % เมื่อเทียบกับปี 2562 ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ญี่ปุ่นครองแชมพ์ยื่นขอรับส่งเสริมสูงสุดทั้งจำนวนโครงการ และมูลค่าลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. เครื่องใช้ไฟฟ้า และอีเลคทรอนิคส์ มูลค่าลงทุน 50,300 ล้านบาท 2. การเกษตร และแปรรูปอาหาร 41,140 ล้านบาท 3. ยานยนต์ และชิ้นส่วน 37,780 ล้านบาท 4. ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ 36,020 ล้านบาท และ 5. เทคโนโลยีชีวภาพ 30,060 ล้านบาท จุดแข็งของไทยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเอเชีย คือ การมีจุดแข็งด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน วัตถุดิบ และชิ้นส่วน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจ BUSINESS CONDITIONS OF JAPANESE COMPANIES IN ASIA AND OCEANIA ของ JETRO ปี 2562 ที่พบว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทย ใช้วัตถุดิบ และชิ้นส่วนในประเทศไทย ในระดับสูงกว่าบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ขณะเดียวกัน จุดอ่อนของไทย คือ เราไม่มีแร่ธาตุมหาศาลเหมือนบางประเทศ เรามีประชากรเพียง 77 ล้านคน ไม่ถึงร้อยล้านดี ดังนั้น อย่าเพิ่งโวยวาย หาก TESLA (เทสลา) จะไปตั้งโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย หรือค่ายญี่ปุ่น จะไปตั้งโรงงานในอินโดนีเชีย ที่ภูมิประเทศเป็นเกาะเสียส่วนใหญ่ เพียงแต่หาวิธีการสนับสนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้ นั่นก็ดีมากเต็มที่แล้วนะครับ