ค่าย Hyundai เรียกรถซีดาน Sonata มากกว่าครึ่งล้านคัน รุ่นปี 2554 - 2556 เข้ารับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ถุงลมนิรภัย และระบบดึงกลับของเข็มขัดนิรภัย ไม่สามารถทำงานได้ ขณะเกิดอุบัติเหตุโฆษกของ Hyundai เปิดเผยว่า บริษัทเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ทำให้ชุดควบคุมถุงลมนิรภัย ไม่ทำงานให้ถุงลมพองออก ทำให้เกิดอุบัติเหตุ 4 ครั้ง และมีผู้บาดเจ็บ 4 ราย ใน Sonata รุ่นปี 2554 และอุบัติเหตุครั้งที่ 5 เกิดที่แคนาดา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งอยู่ในระหว่างการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ สถาบันเพื่อความปลอดภัย NHTSA ได้รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ 2 ครั้ง ที่เกี่ยวข้องกับรถ Kia Forte รุ่นปี 2555 และ 2556 โดยเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนทั้งสิ้น 6 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บ 6 ราย ชุดควบคุมถุงลมนิรภัยใน Sonata และ Forte เป็นชิ้นส่วนจาก ZF-TRW แต่ค่าย Kia ยังไม่ประกาศการเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ และเคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ กับค่าย Fiat Chrysler ที่ทำให้ต้องเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบถึง 1,425,627 คัน ในปี 2559 Michael Stewart โฆษกของ Hyundai ระบุในอี-เมลที่ตอบมายังผู้สื่อข่าว ในเรื่องการเรียกรถ Sonata เข้ารับการตรวจสอบว่า “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในรถยนต์จำนวนน้อยมาก เจ้าของรถยังสามารถใช้งานรถยนต์ต่อไปได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกิดเฉพาะเจาะจง และโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็มีน้อยมาก” แต่ก็แนะนำให้เจ้าของรถ นำรถเข้ารับการตรวจสอบยังผู้จำหน่าย หากมีไฟแสดงถุงลมนิรภัย โชว์บนหน้าปัด ค่าย Hyundai ตรวจสอบและค้นหาสาเหตุของการลัดวงจรในระบบไฟฟ้า ACU นับแต่ปี 2555 โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 Hyundai เรียก Sonata จากรุ่นปี 2554 จำนวน 154,753 คัน เข้ารับการตรวจสอบ และขยายจำนวนเพิ่มเป็นรุ่น Sonata รุ่นปี 2555 - 2556 จำนวน 425,305 คัน เข้ารับการตรวจสอบเพิ่มเติม จากการทดสอบของ Hyundai และ ZF-TRW นำไปสู่ข้อสรุปที่สถาบันเพื่อความปลอดภัยระบุว่า เป็นข้อสรุปชั่วคราว โดยขาดอุปกรณ์ไดโอด ในชุด ACU ที่อาจทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้นได้ ZF เริ่มป้อนชิ้นส่วนให้แก่ Hyundai นับแต่รุ่นปี 2556 และต่อมา Hyundai ก็เพิ่มชุดไดโอด พร้อมชุดควบคุมกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติม
สามารถตรวจสอบจากเลขเครื่อง เลขตัวถัง ได้จากตารางของสถาบันเพื่อความปลอดภัย https://www.nhtsa.gov/recalls
บทความแนะนำ