Toyota Motor นำเสนอผลประกอบการประจำปี 2559 โดย ประธาน Akio Toyoda เป็นผู้แถลงด้วยตนเอง ถึงผลประกอบการจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ถือหุ้นทั้งหลาย เพราะเงินรายได้สุทธิลดลงถึง 28 % เหลือเพียง 1.8311 หมื่นล้านเยน ราว 16.954 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทย 585.93 พันล้านบาทหรือหากพิจารณากันอีกด้านหนึ่งก็เท่ากับว่า การบริหารงานในรอบปีที่ผ่านมา พังทลายโดยสิ้นเชิง ในแง่รายได้สุทธิ โดยท่านประธาน ต้องเตรียมคำพูดที่จะใช้ในการแถลงผลงานต่อผู้ถือหุ้น โดยเลือกใช้คำว่า "วิกฤติ" (Crisis) ในเมื่อผลประกอบการของค่ายสามห่วงอยู่ในระดับขั้นวิกฤติ แล้วอุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมจะเป็นอย่างไร ? หากมองด้วยใจที่เป็นธรรมและพิจารณาสภาพโดยรวมแล้ว ปัญหาสำคัญคือการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในแต่ละประเทศ เพราะไม่ได้ประสบปัญหาทางธุรกิจที่ทำให้การบริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรง แต่การใช้คำพูดอธิบายผลประกอบการ นับว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จากเอกสารที่เตรียมการไว้ ให้อรรถาธิบายว่า "ผมรู้สึกได้อย่างแท้จริง ถึงวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าเราจะได้บริหารงานทั้งด้านการผลิตยานยนต์ จากมุมมองของผู้บริโภคในที่ทำงานของ Toyota ในประเทศต่างๆ นับจากการพัฒนาสายการผลิต, การจัดซื้อชิ้นส่วน และการขาย ตลอดจนการบริหารงานโดยรวม" หรือหากจะพูดในอีกมุมมองหนึ่ง เขาตั้งใจจะบอกว่า เขาคิดว่า Toyota น่าจะทำผลงานได้ดีกว่านี้ ในการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ยังมีมุมมองอย่างอื่นที่กล่าว ที่เป็นเรื่องน่าสนใจมากกว่าผลการดำเนินงานที่ขาดทุนมากกว่า 20 % หรือโดยท่านประธานใช้คำพูดว่า "วิกฤติ" และระบุเอาไว้ว่า "ผมเชื่อว่าการจะทำรถยนต์ให้ดีมากขึ้นนั้น น่าจะเริ่มจากรถคอมแพคท์" นี่ท่านประธานไม่รู้จริงหรือ ว่าทุกวันนี้ ผู้บริโภคต่างพากันซื้อ ครอสส์โอเวอร์, เอสยูวี หรือพิคอัพกัน เพราะยอดขายรถยนต์คอมแพคท์โดยรวมในตลาดอเมริกาปีที่แล้ว ลดลงราว 6 % โดยที่ ครอสส์โอเวอร์ และ เอสยูวี ยอดขายเพิ่มขึ้นราว 7 % ขณะที่รถกระบะเพิ่มขึ้นสัก 6 % เช่นกัน แน่นอนว่ายอดขายของ ครอสส์โอเวอร์ ขนาดต่างๆ ทั่วโลกใบนี้ แสดงให้เห็นการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ในอเมริกาเท่านั้น แต่บางที ท่านประธาน อาจคุ้นชินกับสิ่งที่คนอเมริกันไม่ค่อยมีความรู้ หรือสิ่งที่คนอเมริกันลืมเลือนไปก็อาจเป็นได้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงโตเกียว ตกราวลิตรละ 35 บาท ขณะที่ในกรุงปารีส ราวลิตรละ 50 บาท และกรุงลอนดอน ราวลิตรละ 45 บาท ดังนั้นหากพิจารณาดีๆ แล้ว รถขนาดคอมแพคท์น่าจะเป็นรถที่น่าใช้ที่สุดในโลกใบนี้ เพราะมีแต่ในอเมริกาเท่านั้น ที่ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงถูกกว่าที่อื่น Akio Toyoda ชี้ประเด็นที่เข้าไปซื้อหุ้นของ Daihatsu และเข้าเป็นเจ้าของเมื่อปีที่แล้ว ซึ่ง Daihatsu จะเป็นผู้ผลิตคอมแพคท์คาร์ ให้กับ Toyota สำหรับตลาดเกิดใหม่ "บริษัทใหม่ของเรา รับผิดชอบในการพัฒนารถคอมแพคท์ ด้วยการหาจุดเด่นของยี่ห้ออื่นๆ และหาวิธีผลิตรถยนต์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน" Toyoda กล่าว ปัจจุบัน Toyota เป็นค่ายรถยนต์ที่สามารถผลิตรถยนต์ได้ดีที่สุดในโลกใบนี้ แม้ Akio Toyoda จะบอกว่า เป็นผลพวงมาจากการทำทุกสิ่งให้เป็นเรื่องง่าย และควบคุมต้นทุนให้ดีที่สุด ให้เป็นเสมือนผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในคลาสส์ เหมือนกับที่ Kllenex คือ ความหมายของกระดาษเช็ดมือ ด้วยการทำ Kaizen หรือการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคน Toyota ปฏิบัติอยู่จนเป็นอุปนิสัย แม้จะมีคำพูดที่ว่า "ไม่มีใครทำเงินได้จากรถขนาดเล็ก" ซึ่งอาจเป็นประเด็นให้ถกเถียงกัน แต่ลองหันมาดูยอดขายในอเมริกาเมื่อปีที่แล้วอย่าง Honda Civic ขาย 366,927 คัน, Toyota Corolla ขาย 360,483 คัน นับเป็นอันดับที่ 5 และที่ 6 ของรถขายดีที่สุด ตามหลัง Ford, GM, Volswagen และ Toyota Camry แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรักษาให้สายการผลิตทำงานได้ตลอดเวลา และอะไรจะเกิดขึ้นหากราคาเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลงไป และมีการเปลี่ยนแปลงในความนิยมของประเภทรถยนต์ ขณะที่ค่าย Toyota ยังคงผลิตรถคอมแพคท์ขนาดเล็ก และประหยัดเชื้อเพลิง โดยยังพอมีผลิต Land Cruiser และ Tundra ที่มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง แม้ว่าจะมีปริมาณไม่มากนัก ขณะที่ค่ายรถยนต์อื่นๆ ยังเป็นสายการผลิตที่สามารถผลิตรถขนาดใหญ่ ขนาดรถบ้านได้ และอะไรจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมยานยนต์